เมนู

สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ทุกฺเข
อนตฺตสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนัตตานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
ปหานสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นใน ปหานานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
วิราคสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในวิราคานุปัสสนาญาณ. คำเป็น
ต้นว่า อิเม โข อาวุโส พึงประกอบเข้ากับนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 130 ด้วยสามารถแห่งปัญจกะ 26 ชื่อว่าแสดง
สามัคคีรสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบหมวด 5

ว่าด้วยธรรมหมวด 6



พระเถระ ( พระสารีบุตร ) ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถ
แห่งธรรมหมวดห้า ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส
ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหก จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺติกานิ ได้แก่อายตนะภายใน.
บทว่า พาหิรานิ ได้แก่ อายตนะที่มีในภายนอกจากอายตนะภายในนั้น.
ส่วนว่า อายตนะกถาโดยพิสดาร ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆษาจารย์ ) กล่าวไว้
ในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิญฺญาณกายา ได้แก่ หมู่แห่งวิญญาณ.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ได้แก่ วิญญาณที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก
อันอาศัยจักษุประสาท. ในวิญญาณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันอาศัยจักษุ. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น